วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธน

การฝึกงาน


​การฝึกงาน/การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 

สาระทั่วไปของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

1. ความสำคัญของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นกระบวนการเพิ่มทักษะ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพ ช่วยให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานจริง เพื่อให้เกิดทักษะและความสามารถในการทำงานที่ดี สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งในสถานประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระ นักศึกษามีโอกาสได้ใช้เครื่องมือใหม่ๆ ในวงการอุตสาหกรรม  ตลอดจนทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน และเทคนิคการทำงาน สามารถเห็นวิธีการสร้างสรรค์ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังสร้างความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  และให้นักศึกษาฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น  ที่สำคัญเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพในการทำงานการประกอบอาชีพในอนาคต

2.  วัตถุประสงค์ของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

2.1  เพื่อฝึกให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เคารพระเบียบวินัย และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2  เพื่อให้นักศึกษาได้เพิ่มทักษะ  สร้างเสริมประสบการณ์  และพัฒนาวิชาชีพตามสภาพความเป็นจริงในสถานประกอบการ

2.3 เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงาน และสามารถใช้สติปัญญาแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล

2.4  เพื่อให้นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไป ภายหลังจากสำเร็จการศึกษา

2.5 เพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการอยุธยากับสถานประกอบการ 

3.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ

งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี /การฝึกงาน/การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชา และ งานฝ่ายวิชาการ  วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคโนโลยีกรุงธน เลขที่ 1 หมู่ที่ - ถนนเพชรเกษม  เขตบางแค   แขวงบางแคเหนือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10160 โทร. 02-4442215  โทรสาร. 02-4442216  

4.  เงื่อนไขการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

4.1 นักศึกษาที่จะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทุกคนจะต้องผ่านการพิจารณาคุณสมบัติขั้นต้นจากสาขาวิชาก่อน ถ้าขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งจะไม่มีสิทธิ์ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

4.2 ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพทุกคนต้องผ่านการปฐมนิเทศจากสาขาวิชาก่อนจึงจะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้

4.3 ในระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หากมีปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่พึงประสงค์ของหน่วยงานวิทยาลัยฯ จะเรียกตัวนักศึกษากลับมาทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข

4.4 นักศึกษาทุกคนจะต้องมีความรู้ในด้านมารยาทในการเข้าสังคม และการปฏิบัติตนต่อผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

 

2. แนวปฏิบัติสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

2.1 การปฏิบัติตนในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

1. นักศึกษาทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมของสาขาวิชา ฝ่ายวิชาการ เช่น การปฐมนิเทศ การปัจฉิม นิเทศ หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่วิทยาลัยฯ กำหนดไว้

2. ติดรูปถ่ายชุดนักศึกษา ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป ในสมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พร้อมกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนและชัดเจน

3. นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติและวางตัวให้เหมาะสม ระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพดังนี้

3.1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบและกฎข้อบังคับของสถานที่ฝึกประสบการณ์อย่างเคร่งครัด

3.2 ต้องลงเวลามาปฏิบัติงานและกลับทุกครั้ง โดยมีลายเซ็นรับรองของผู้ดูแลนักศึกษาในสถานที่ฝึกประสบการณ์

3.3 ต้องทำบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันตามแบบที่วิทยาลัยฯ กำหนดไว้ และส่งอาจารย์นิเทศการฝึกประสบการณ์ตรวจ ในวันที่อาจารย์นิเทศ ปฏิบัติหน้าที่

3.4 ต้องเป็นคนตรงต่อเวลาทั้งเวลาไปและกลับ

3.5 ต้องมีใบลาทุกครั้งที่ป่วยหรือไม่สามารถฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามปกติได้ โดยส่งใบลาที่หัวหน้างานที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์อยู่

3.6 ต้องขออนุญาตหัวหน้างานหรือผู้ควบคุมการฝึกทุกครั้งที่จะออกนอกสถานที่ฝึกประสบการณ์

3.7 ต้องแต่งกายให้เรียบร้อย ตามระเบียบของวิทยาลัยฯ หรือสถานประกอบการ ว่าด้วยการแต่งกายของนักศึกษา

3.8 ต้องไม่พาเพื่อนหรือบุคคลอื่นๆ เข้ามาในสถานที่ฝึกประสบการณ์ โดยไม่ได้ขออนุญาตสถานที่ฝึกประสบการณ์นั้นก่อน

3.9 ต้องมีความรับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่อภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

3.10 ต้องรับฟังความคิดเห็น และคำแนะนำของหัวหน้างาน ผู้ควบคุมการฝึก และอาจารย์นิเทศ เพื่อทำการแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง

3.11 ให้ความช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมต่างๆ และให้ความช่วยเหลือต่อสถานที่ฝึกประสบการณ์

3.12 ต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ผู้มาติดต่อโดยเฉพาะการแสดงออกทั้ง กิริยา ท่าทาง และการพูด จะต้องมีความสุภาพอ่อนน้อม

4. พบอาจารย์นิเทศ หรือแจ้งหน่วยงานทันทีเมื่อมีปัญหา

5. สรุป ประสบการณ์ในการฝึก และ ข้อเสนอแนะของนักศึกษาจากการฝึกฯ เพื่อร่วมกิจกรรมในวันปัจฉิมนิเทศ

หมายเหตุ ถ้านักศึกษาไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้ขณะฝึกประสบการณ์เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น จะไม่พิจารณาผลการประเมินของสถานที่ฝึกประสบการณ์นั้น

2.2 การบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน 

การบันทึกเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หน้าที่ในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละชั่วโมง และแต่ละวันเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการบันทึกทำให้นักศึกษาได้เก็บข้อมูล ปัญหา ข้อคิด  และประสบการณ์ในขณะปฏิบัติงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์งาน สรุปผลงาน ตลอดจนการเสนอแนะต่างๆ ดังนั้นการบันทึก จึงมีประโยชน์ดังนี้

1. การฝึกนิสัยที่ดีแก่นักศึกษาที่ฝึกอาชีพให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ

2. ข้อมูลตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆ ที่บันทึกไว้จะเปรียบเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นความจริงในการปฏิบัติงาน

3. การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ จะเป็นบรรทัดฐานที่ดี ให้นักศึกษาสามารถนำไปปรับปรุงตนเองเมื่อสำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพ

4. การบันทึกข้อมูลเป็นเทคนิควิธี ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ จะอำนวยประโยชน์ต่อนักศึกษาโดยตรง

ข้อเสนอแนะในการบันทึกงาน

1. นักศึกษาต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานแต่ละวันในตารางที่กำหนด

2. ในการบันทึกแต่ละครั้ง ให้นักศึกษาลงนามกำกับไว้ด้านท้าย

3. ให้ผู้ควบคุมการฝึกงานลงนามรับรอง หรือ แสดงข้อเสนอแนะด้วยทุกครั้ง

4. เสนอบันทึกต่ออาจารย์นิเทศหรือผู้ตรวจฝึกประสบการณ์ทราบ เมื่อไปนิเทศหรือตรวจการฝึกประสบการณ์

5. การบันทึกต้องเป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย และมีลำดับขั้นตอนก่อนหลัง

2.3 สรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ ข้อเสนอแนะของนักศึกษา

สรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้นักศึกษาเขียนสรุปผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จาก

1. ข้อมูลการบันทึกปฏิบัติงานประจำวัน

2. สภาพแวดล้อมที่วัดและสังเกตได้

3. ข้อเสนอแนะของผู้ควบคุมการฝึกประสบการณ์ ครูผู้ฝึก และอาจารย์นิเทศ

4. ข้อมูลเด่นๆ หรือที่สำคัญๆ ของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ข้อเสนอแนะในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาให้นักศึกษาเขียนข้อเสนอแนะ โดย

1. เสนอแนะจากความเป็นจริง

2. เสนอแนะในทางสร้างสรรค์

3. เสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูลและประโยชน์ต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษารุ่นต่อไป

4. เสนอแนะเพื่อเป็นข้อมูลและประโยชน์ต่อการปรับปรุงงานของวิทยาลัยฯ

5. เสนอแนะเป็นข้อๆ  และมีความชัดเจน

 

3.  แนวปฏิบัติสำหรับอาจารย์นิเทศ

3.1 แนวปฏิบัติก่อนการนิเทศ

ประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  ดังนี้

1.  แบ่งกลุ่มนักศึกษาและสถานประกอบการที่จะออกไปปฏิบัติการนิเทศ

2.  กำหนดแนวทางหรือวิธีการนิเทศ

3.  ศึกษาเส้นทางและสถานที่ตั้งของสถานประกอบการต่างๆ

4.  ให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ แก่นักศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

5.  เข้าร่วมปฐมนิเทศ และ ปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ตามวัน เวลา ที่กำหนด

3.2 แนวปฏิบัติขณะนิเทศ

1. นิเทศการปฏิบัติงานของนักศึกษาทุกคน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ตลอดภาคเรียน

2. จดบันทึก สรุปผลการปฏิบัติงานที่สังเกตเห็น

3. ชี้แจงหรือให้คำแนะนำกับนักศึกษา เพื่อแก้ไขข้อพกพร่อง

4. รวบรวมข้อมูลที่สังเกตได้ไว้เป็นหลักฐานประกอบการประเมินผล

5. ตรวจบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก่นักศึกษาตามที่เห็นสมควร

6. จัดทำรายงานการเดินทาง และ เอกสารอื่นๆ ตามที่ไปนิเทศ

3.3 แนวปฏิบัติหลังนิเทศ

1.  ติดตามแบบประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จากนักศึกษา

2.  ให้คะแนนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตามรายการ ต่อไปนี้

1)  ผลการประเมินจากสถานประกอบการ                                                     70 %

2)  ผลการประเมินจากอาจารย์นิเทศ – สมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์            10 %

3)  ผลการประเมินจากอาจารย์ผู้สอน                                                             30 %

                                           รวม                                                               100 %

3.  จัดทำรายการคะแนนเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลส่งหัวหน้าสาขาวิชาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

4.  ส่งเอกสารและใบสำคัญอื่นๆ ต่อ สาขาวิชา / งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และ งานฝ่ายวิชาการ

 

4.  แนวปฏิบัติสำหรับครูผู้ฝึก หรือ สถานประกอบการ

ครูผู้ฝึก หรือผู้ควบคุมการฝึก หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ในสถานประกอบการที่นักศึกษาไปปฏิบัติการฝึกประสบการณ์  เป็นผู้ที่มีความรู้และชำนาญการในงานที่นักศึกษาจะฝึกประสบการณ์ สามารถตอบปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับการทำงาน  สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาได้ ดังนั้น นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์ ควรเคารพ ให้ความสำคัญ และปฏิบัติต่อครูผู้ฝึก หรื ผู้ควบคุมการฝึกดังต่อไปนี้

1. หลังจากสถานประกอบการตอบรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์แล้ว  นักศึกษาควรรับทราบหรือเข้ารายงานตัวต่อครูผู้ฝึก หรือ ผู้ควบคุมการฝึกทันที

2. นำใบส่งตัวส่งสถานประกอบการ หรือ ครูผู้ฝึก ให้รับทราบ เพื่อให้ท่านนำเสนอต่อผู้บริหารอีกชั้นหนึ่ง

3. ขอรับทราบภาระงาน (Job Description) และที่นอกเหนือไปจากงานที่ได้รับมอบหมาย

4. ขอคำแนะนำในเรื่องต่างๆ ที่จะต้องปฏิบัติในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

5. รับฟังหรือปฏิบัติตามคำว่ากล่าวตักเตือนจากครูผู้ฝึก หรือ ผู้ควบคุมการฝึก

6. ขออนุญาตครูผู้ฝึก หรือ ผู้ควบคุมการฝึก เมื่อมีความจำเป็นเกี่ยวกับ การเจ็บป่วย ลา มาสาย ไม่สามารถทำงานได้ และ เรื่องอื่นๆ ถ้ามี

 

5.  การวัดผลและประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

5.1 หลักเกณฑ์การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา

1. นักศึกษาจะต้องปฏิบัติตามปฏิทินการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจนครบทุกกิจกรรม  และตรงต่อเวลา

2. การประเมินผลจากสถานประกอบการ ใช้แบบประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่วิทยาลัยฯ จัดเตรียมให้  หรือ อาจมีแบบประเมินผลของหน่วยงานนั้นๆเพิ่มเติมด้วย

3. การประเมินผลจากสาขาวิชา

3.1 ใช้แบบประเมินผลชุดเดียวกันกับแบบประเมินผลที่ส่งให้สถานประกอบการ

3.2 พิจารณาจากสมุดบันทึกรายละเอียดของงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวัน

4. เวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพต้องไม่น้อยกว่า 2  ภาคเรียน หรือ ระยะเวลา 1 ปี 

5. เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ ตามวันเวลา ที่ทางวิทยาลัยกำหนดครบทุกครั้ง

6. ผลคะแนนสุดท้าย เป็นคะแนนรวมของคะแนนที่ได้รับจากสถานประกอบการและคะแนนที่ได้รับจากอาจารย์นิเทศจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

จุดมุ่งหมายของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพี่อตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาโดยการฝึกประสบการณ์จริงในหน่วยงานจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะมีความรับผิดชอบมีระเบียบวินัยต่อตนเองและส่วนรวมในงานอาชีพและสภาพความเป็นจริงในสถานประกอบการเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยจุดประสงค์ในการฝึกงานดังกล่าวครูที่ทำหน้าที่นิเทศควรใช้เกณฑ์การประเมินผลเป็นมาตรฐานเดียวกันตามจุดมุ่งหมายของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและควรแนะนำผู้ควบคุมดูแลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาในสถานประกอบการให้เข้าใจเรื่องดังกล่าวตั้งแต่วันแรกของการนิเทศ 

5.2 การวัดผลและประเมินผล

สัดส่วนของคะแนนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีดังนี้

1.  ผลการประเมินจากสถานประกอบการ                                                 70    คะแนน

2.  ผลการประเมินจากอาจารย์นิเทศ - สมุดบันทึกการฝึกประสบการณ์        10    คะแนน

3.  ผลการประเมินจากอาจารย์ผู้สอน                                                       30    คะแนน

                                                                                           รวม         100    คะแนน

 

6.  เอกสารและแบบฟอร์มต่างๆ ที่ควรรู้

6.1 แบบคำร้องขอฝึก    

6.2 หนังสือขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาเข้าฝึก    

6.3 หนังสือตอบรับนักศึกษาเข้าฝึก    

6.4 หนังสือส่งนักศึกษารายงานตัวฝึก    

6.5 สมุดบันทึกการฝึก

6.6 ระเบียนข้อมูลนักศึกษาฝึก

6.7  ตารางบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน

6.8  แบบบันทึกรายละเอียดการปฏิบัติงาน

6.9 ใบลงเวลาปฏิบัติงานของนักศึกษา

6.10 สรุปผลที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

6.11 ข้อเสนอแนะจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

6.12 สรุประยะเวลาปฏิบัติงาน

6.13 ข้อคิดเห็นของครูผู้ฝึก /  ผู้ควบคุมการฝึก

6.14 ข้อคิดเห็นของอาจารย์นิเทศ

6.15 ข้อปฏิบัติของนักศึกษา

6.16 บันทึกอาจารย์ที่ปรึกษา

6.17 ภาคผนวก

        6.17.1 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน

        6.17.2 แบบประเมินความพึงพอใจของสถานประกอบการ


แบบฟอร์มข้อมูลเพื่อประชาสัมพันธ์

ชื่อหัวข้อ/โครงการ/กิจกรรม สถานประกอบการรับนักเรียน - นักศึกษา เข้ารับการฝึกงาน

รายละเอียด   ว/ด/ป

การฝึกงาน มีการกำหนดระยะเวลาให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการจัดการอาชีวศึกษา ฝึกปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับลักษณะของงานในสาขาวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาและวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธน กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ เป็นเวลา 45 -50 วัน จำนวน 350 ชั่วโมง 

ทางแผนกสาขาวิชาช่างยนต์ ได้เข้าทำความร่วมมือในการดำเนินการส่งนักศึกษาออกฝึกงานตามหลักสูตรทั้งในระดับ ปวช. และ ปวส. ทั้งในรูปแบบของทางแผนกสาขาวิชาจัดหา และรูปแบบนักศึกษามีความสนใจจัดหาด้วยตนเอง ซึ่งมีรายละเอียดของตัวอย่างสถานประกอบการ ดังนี้

1. ศูนย์บริการรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า Yamaha Square จริงจังมอเตอร์

2. ศูนย์บริการรถยนต์ อีซูซุ CCK สาขาเพชรเกษม

3. ศูนย์บริการรถยนต์ โตโยต้า สุวรรณภูมิ สาขาเพชรเกษม 81

4. บริษัท ช การยาง (1969) จำกัด

5. ศูนย์บริการ PTT FIT AUTO

6. อู่โชคชัย เซอร์วิส