ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธนก่อตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2511 ตั้งอยู่เลขที่ 4/1 ถนนเพชรเกษม หมู่ที่ 3 ตำบลบางแคเหนือ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ตามใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของจัดตั้ง วิทยาลัยชื่อโรงเรียนพณิชยการและช่างกลบางแค (ใบอนุญาตเลขที่ 57/2511) โดยเปิดสอนตามหลักสูตร รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ มีนายเสนอ จิตรพันธ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต เปิดสอนวิชาประเภทอาชีวศึกษา สายวิชาช่างอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมตั้งแต่ชั้น ปวช.ปีที่ 1 ถึงชั้น ปวช.ปีที่ 3
และในปี พ.ศ.2526 ขอเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงธน ต่อมานายเสนอจิตรพันธ์ผู้รับใบอนุญาตได้โอนกิจการของโรงเรียนเทคโนโลยีกรุงธน ให้เป็นของนายอินทร์ จันทร์เจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาต ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2527 เป็นต้นมาและได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธน เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 เปลี่ยนที่อยู่เป็น เลขที่ 1 ซอยเพชรเกษม 98 เขตบางแค จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10160 วิทยาลัยฯ ได้ขอเปิดเพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาเทคนิคยานยนต์,สาขาเทคนิคการผลิต,สาขาเทคนิคสถาปัตยกรรม, สาขาวิชาไฟฟ้ากำลังและสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ และประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี, สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ปรัชญาของสถานศึกษา (Philosophy)
ความรู้ คู่ คุณธรรม
ความรู้
- รู้ในเชิงวิชาการเป็นอย่างดี
- รู้จักตนเอง
- รู้จักสังคม
- รู้รักชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์
คุณธรรม
- วินัย
- ความขยันขันแข็งในการงาน
- ความอดทน
- ความเสียสละ
- ความซื่อสัตย์
- ความรักงาน
- ความกตัญญู
วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา (Vision)
วิทยาลัยดำเนินการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพด้านวิชาชีพวิชาการและ คุณธรรม ตลอดจนร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
พันธกิจของสถานศึกษา (Mission)
- พัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพให้มีมาตรฐาน
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษา
- ส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยี
- บริการวิชาการวิชาชีพให้กับสังคม
- บริหารจัดการสถานศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
อัตลักษณ์ของสถานศึกษา (Identity)
ทักษะวิชาชีพดี มีคุณธรรม
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา (Uniqueness)
โดดเด่นด้านทักษะ
เป้าหมายของวิทยาลัย (Goal)
- ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณภาพและได้มาตรฐาน
- เพิ่มความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของสถานประกอบการ
- เพื่อเพิ่มจำนวนสถานประกอบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
- เพิ่มทักษะและการคิดเคราะห์และแก้ปัญหา
- เพิ่มความพึงพอใจและความเชื่อถือให้แก่ประชาชนผู้รับบริการ
- เพื่อสร้างคุณค่า ค่านิยมและสื่อจูงใจในการศึกษาด้านอาชีวศึกษา
- นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เพื่อการพัฒนาที่สมดุล
สิ่งศักดิ์ประจำวิทยาลัย
หลวงปู่พระวิษณุกรรม

ต้นไม้ประจำวิทยาลัย
ต้นประดู่เหลือง ซึ่งหมายถึง ความรักใคร่ ความกลมเกลียว ความสามัคคี ความร่วมมือ และความพร้อมเพียงกัน

สีประจำวิทยาลัย
สีชมพู และสีม่วง
- สีชมพู หมายถึง ความนุ่มนวลและความอ่อนหวาน
- สีม่วง หมายถึง ความมุ่งมั่นและตั้งใจ
ตราสัญลักษณ์ประจำวิทยาลัย
